Menu Close

โรคสะบ้าเคลื่อน

โรค พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น พันธุ์ทอย, มิเนียเจอร์ และสุนัขพันธุ์ใหญ่บางสายพันธุ์ ลักษณะสำคัญคือลูกสะบ้าซึ่งปกติจะอยู่ในร่องบริเวณหัวเข่ามีการเคลื่อนที่ผิดตำแหน่งและหลุดออกจากร่อง อาจเป็นได้ตั้งแต่กำเนิดที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเกิดจากการกระทบกระแทก

อาการ  แบ่งตามเกรดดังนี้

เกรด1  ลูกสะบ้ายังคงอยู่ในร่องอยู่ อาจเคลื่อนออกมาจากร่องเป็นบางครั้ง เวลาใช้มือจับดันสามารถ เลื่อนหลุดออกมาได้ง่าย แต่เมื่อปล่อยก็จะเด้งกลับมาอยู่ใน ร่องเดิมได้อยู่ สุนัขอาจยังไม่แสดงอาการ ไม่ร้องปวด หรือเดินผิดปกติ

เกรด2 ลูกสะบ้าจะเคลื่อนหลุดออกมาบ่อยครั้งขึ้น เวลาหลุดออกมาจะค้างอยู่บริเวณนอกร่อง บางครั้ง อาจร้องปวดและเดินยกขาหลัง สุนัขที่มีลูกสะบ้าเคลื่อน ในระดับนี้เป็นเวลานาน อาจพบกระดูกอ่อนที่ผิวข้อถูกทำลาย จากการที่ลูกสะบ้าเสียดสีกับสันกระดูก และอาจทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมตามมาได้

เกรด 3 ลูกสะบ้าจะเคลื่อนหลุดออกมาตลอดเวลา และอาจพบการบิดของกระดูกขาด้วย โดยบิดอยู่ประมาณ 30-50 องศา สุนัขไม่สามารเหยียดขาได้ จึงอยู่ใน ท่ายกขางอข้อเข่า ไม่ยอมลงน้ำหนักและมอาการเจ็บปวดตลอดเวลา แต่อาจสามารถดันลูกสะบ้า กลับได้ด้วยการเหยียด ข้อเข่าและบิดกระดูกได้ แต่ถ้ามีการงอ หรือมีการใช้ขาอีก ลูกสะบ้าก็จะเคลื่อนกลับออกไปอยู่นอกร่องเหมือนเดิม

เกรด 4 ลูกสะบ้าจะเคลื่อนหลุดไปอยู่นอกร่องอย่างถาวร ไม่สามารถดันกลับได้แล้ว กระดูกขาก็จะบิด ไปมากกว่า 50-90 องศา ร่องที่รองรับลูกสะบ้าอาจตื้นหรือหายไปเลย สุนัขจะร้องปวดตลอดเวลา ไม่สามารถเหยียดข้อเข่าได้ และเดินขาลาก

 

แนวทางการรักษา

1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย
2. เอ็กซเรย์ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
3. การผ่าตัดศัลยกรรม
4. อาจจำเป็นต้องกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ช่วยการทำงานข้อต่อดีขึ้น