Menu Close

อาหารและวัตถุดิบที่เป็นพิษในสัตว์เลี้ยง

บางครั้งวัตถุดิบเหล่านั้นอาจเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงจนสามารถทำอันตรายถึงชีวิตได้หากได้รับประทานมากเกินไป

วัตถุดิบที่มนุษย์สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย บางครั้งวัตถุดิบเหล่านั้นอาจเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงจนสามารถทำอันตรายถึงชีวิตได้หากได้รับประทานมากเกินไป ซึ่งในปัจจุบันยังมีเจ้าของส่วนใหญ่ที่ไม่ทราบและให้สัตว์เลี้ยงทานอาหารเช่นเดียวกับตนเองโดยไม่รู้ว่าอาหารดังกล่าวเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงหรือไม่ โดยอาหารแต่ละชนิดที่มีความเป็นพิษก็ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงมีอาการที่แตกต่างกันไป

1. กระเทียมและหัวหอม (garlic and onions)

พืชกลุ่ม กระเทียมต้น (leek) , ต้นหอมฝรั่ง (chive) และ หอมแดง (shallots) ขนาดที่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงน้อยที่สุดคือ 5 กรัม/กิโลกรัมในแมว และ 15 กรัม/กิโลกรัมในสุนัข ส่งผลทำให้เกิดการหลั่งของ Allicin ซึ่ง Allicin สามารถแตกตัวได้เป็นสาร N-propyl disulfide โดยสารดังกล่าวส่งผลให้เกิด  oxidative damage ต่อ hemoglobin และ erythrocyte membrane ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น methemoglobin, heinz bodies, และ eccentrocyte ซึ่งเหนี่ยวนำทำให้เกิด intravascular hemolysis และ anemia ตามมา อาการเบื้องต้น ได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย และมีการหลั่งน้ำลายมากขึ้น โดยอาการอาจจะไม่แสดงออกชัดเจนประมาณ 1-5 วัน จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบเลือดเกิดขึ้น โดยสารพิษจะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งสัตว์เลี้ยงจะมีลักษณะ เหงือกซีด อ่อนแรง เดินเซ เบื่ออาหาร ซึม หายใจเร็วกว่าปกติ (tachypnea) และ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (tachycardia) นอกจากนี้ ยังสามารถพบลักษณะเยื่อเมือกสีเหลือง (icterus) และ

ภาวะที่พบฮีโมโกบินในปัสสาวะ (hemoglobinuria) ซึ่งเกิดตามมาจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในหลอดเลือด (intravascular hemolysis) ได้

2. องุ่นและลูกเกด (grapes and raisins)

องุ่นเป็นสารพิษในกลุ่มที่สร้างความเสียหายต่อไต ส่งผลให้เกิดภาสะไตวายเฉียบพลัน โดยขนาดที่เป็นพิษน้อยที่สุดสำหรับสุนัขที่ได้รับรายงานคือ 19.6 กรัม/กิโลกรัม ขององุ่น และ 2.8 กรัม/กิโลกรัม ของลูกเกด หลังจากสุนัขทานองุ่น หรือลูกเกดไป

มักจะเกิดอาการอาเจียนเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรก ส่วนอาการอื่นๆที่สามารถพบได้ เช่น ภาวะอิดโรย (lethargy), เบื่ออาหาร (anorexia), และถ่ายเหลว (diarrhea) หลังจากนั้นเมื่อเกิดภาวะไตวายตามมา

3. Chocolate และ Caffeine

ช็อคโกแลต เมล็ดกาแฟ คาเฟอีนแบบอัดเม็ด เมล็ดโกโก้ และแหล่งของ Caffeine มักจะพบใน ชา กาแฟคั่วบด น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง โดยหลังจากสัตว์เลี้ยง ได้รับสารพิษใน 1-2 ชั่วโมงแรก จะพบลักษณะอาการอาเจียน,หอบ, เดินผิดปกติ, ปัสสาวะกระปิดกระปรอย, ท้องเสีย, กล้ามเนื้อกระตุก, หัวใจเต้นเร็ว และหลังจากนั้นหากได้รับสารพิษในปริมาณมาก

อาการจะค่อยๆ เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้น โดยจะเกิดลักษณะของ ความดันสูง,หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ชัก, ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด โดยความรุนแรงของอาการของสัตว์เลี้ยงที่ได้รับสารพิษ ขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของสารพิษที่ได้รับ หากได้รับ 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จะแสดงอาการทางคลินิกเพียงเล็กน้อย แต่หากได้รับปริมาณ 40-50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มักจะแสดงอาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ในขณะที่หากได้รับมากกว่า 60 มิลลิกรัม/กิโลกรัมขึ้นไป มักจะแสดงอาการรุนแรงมากจนถึงสามารถแสดงการชักได้

4. แอลกอฮอล์ และ ส่วนผสมของขนมปัง (Alcohol and Bread Dough) 

การหมักของน้ำตาลโดยยีสต์ ทำให้เกิดผลผลิตเป็นเอทานอล โดยเอทานอลพบได้ในหลายผลิตภัณฑ์ด้วยกัน เช่น สารทำละลาย (solvents), น้ำมันเชื้อเพลิง (fuels), สี (paints), ยารักษาโรค (medication) และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (alcoholic beverages) โดยความเป็นพิษในสัตว์เลี้ยงจากเอทานอลมักเกิดจากความบังเอิญและไม่ได้ตั้งใจทานเครื่องดื่ม

นอกจากนี้ยังมีรายงานของความเป็นพิษในแอลกอฮอล์ในสุนัขที่รับประทานส่วนผสมของขนมปังแบบไม่ได้อบ (unbaked bread dough) และแอปเปิ้ลเน่า (rotting apples) โดยหลังที่อาหารดังกล่าวได้เข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร

อุณหภูมิในร่างกายจะส่งเสริมให้เกิดกระบวนการหมักโดยยีสต์ ส่งผลให้เกิดผลผลิตเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเอทานอล ซึ่งผลผลิตทั้งสองจะถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วและเกิดความเป็นพิษตามมา ขนาดสารพิษที่ต่ำที่สุดที่สามารถทำให้สุนัขเสียชีวิตได้ คือ 5.5 กรัม/กิโลกรัม (5.5 มิลลิลิตร/กิโลกรัม ของ 100% Ethanol)

โดยเอทานอลสามารถถูกดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือด โดยอาการทางคลินิกที่พบได้เริ่มแรกคืออาการอาเจียน และกระวนกระวาย (excitation) หลังจากนั้นตามมาด้วยอาการเดินเซ มีภาวะอิดโรย

อุณหภูมิร่างกายต่ำลงกว่าปกติ ไม่สามารถคุมปัสสาวะได้ อ่อนแรงเฉียบพลัน ระบบประสาทส่วนกลางถูกกด ชัก และเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ในสุนัขที่รับประทานส่วนผสมของขนมปัง (bread dough) สามารถแสดงอาการท้องกางและปวดท้อง จากแก๊สที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมัก(from gas production), กระเพาะอาหารอุดตัน (gastric obstruction) และมีโอกาสเกิดภาวะกระเพาะอาหารบิดตามมาได้ (gastric dilatation-volvulus) ธญวรรณ สตันยสุวรรณ. (2565). อาหารและวัตถุดิบที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

ข้อมูลจาก:

สพ.ญ.ศศิร์พัช กิตติสารธรรมา (หมอมุก)
แผนกอายุรกรรม, แผนกอัลตร้าซาวด์
สัตวแพทย์โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน

แหล่งอ้างอิง:

 https://www.readvpn.com/Topic/Info/d326c0b9-c51f-48a4-b8f9-e9b96d965973.