ตับอ่อนมีหน้าที่สำคัญในการสร้างเอนไซม์ย่อยอาหารโดยมีท่อเปิดมาสู่ลำไส้เล็ก และมีหน้าที่ในการสร้างอินซูลิน (insulin) และกลูคากอน (glucagon) ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมเมตาโบลิซึมของน้ำตาล ซึ่งภาวการณ์เกิดตับอ่อนอักเสบจะเกี่ยวข้องกับหน้าที่การสร้างเอนไซม์ในการย่อยอาหาร
ภาวะตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
คือ การอักเสบอย่างรุนแรงของตับอ่อนซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการย่อยอาหาร และเป็นโรคที่เป็นผลมาจากการให้อาหารสุนัข ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารสุนัขที่มีไขมันสูง หรือสารอาหารไม่สมดุล
ปัจจัยโน้มนำ ให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ ได้แก่
– ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มซัลฟา หรือ chemotherapy อย่างเช่น azathioprine
– โรคอ้วนรวมทั้งความผิดปกติของการเผาผลาญไขมัน
– ปริมาณไขมันในเลือดสูง ( hyperlipidaemia )
– ปริมาณแคลเซียมในเลือดสูง ( hypercalcemia )
– การบาดเจ็บและการกระแทก
– ความดันโลหิตต่ำ (hypotension)
– ช่วงอายุก็มีความสำคัญจะพบว่าสุนัขวัยกลางคน ( middle age )มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
– สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงได้แก่ Schnauzers และ Yorkshire terriers
– โภชนาการ การเลี้ยงสุนัขด้วยอาหารไขมันสูงจะทำให้มีอุบัติการของโรคสูงขึ้น
– มีประวัติการผ่าตัดช่องท้องมาก่อน มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคนี้
อาการ
โดยทั่วไปในสุนัขมักจะเริ่มจากการอาเจียนเฉียบพลัน (suddenly vomit) ตามด้วยภาวะร่างกายขาดน้ำ (dehydrated) ซูบผอม (lethargic) อาจมีอาการท้องเสีย (diarrhea) และมีไข้ (fever) ร่วมด้วย อาการของโรคอาจรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากการอักเสบของตับอ่อนทำให้มีการหลั่งเอนไซม์จากตับอ่อนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งส่งผลให้ระบบควบคุมการอักเสบของร่างกายล้มเหลว ( systemic inflammatory response syndrome ) ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆล้มเหลว ( multiple organ dysfunction ) ตามมาได้
การวินิจฉัย
– การซักประวัติถึงปัจจัยโน้มนำที่ทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ
– การตรวจด้วยรังสีวินิจจัย จะพบลักษณะการขยายออกของขอบลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum)
ตามแนวของกระเพาะอาหารแสดงถึงการบวม (swell) ของตับอ่อน แต่วิธีนี้มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ
– การตรวจด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ วิธีนี้มีความแม่นยำมากกว่าการตรวจด้วยรังสีและสามารถตรวจสอบอวัยวะอื่นไปได้พร้อมกัน อีกทั้งใช้ช่วยในการเก็บตัวอย่างของเหลวจากช่องท้องได้ด้วย จึงเป็นวิธีที่ได้ผลรวดเร็วและแม่นยำพอสมควร
– การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
– การตรวจเลือด แต่ผลอาจไม่แน่นอนนี้ เนื่องจากระดับ amylase และ lipase
ซึ่งเป็นเอนไซม์ของ ตับอ่อนนั้น อาจสูงขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่นได้ด้วย
– การตรวจวิธี PLI ( pancreatic lipase immunoreactivity)
เป็นวิธีที่มีความจำเพาะต่อตับอ่อนมากขึ้นแต่ ต้องใช้ห้องแลบที่ จำเพาะ จึงไม่เป็นที่นิยม
– การตรวจวิธี SPECcPL ( Specific canine pancreatic lipase )
เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีความไว (sensitivity) และมีความจำเพาะ
(specific) ต่อโรคสูง นอกจากนี้ยังให้ผลได้รวดเร็วด้วย
– การตรวจวัดเอนไซม์ของตับอ่อนเชิงปริมาณ (canine pancreatic lipase = V-check CPL)
–การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
– การตรวจเลือด แต่ผลอาจไม่แน่นอนนี้ เนื่องจากระดับ amylase และ lipase ซึ่งเป็นเอนไซม์ของ ตับอ่อนนั้น อาจสูงขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่นได้ด้วย
– การตรวจวิธี PLI ( pancreatic lipase immunoreactivity) เป็นวิธีที่ มีความจำเพาะต่อตับอ่อนมากขึ้นแต่ ต้องใช้ห้องแลบที่ จำเพาะ จึงไม่เป็นที่นิยม
–การตรวจวิธี SPECcPL ( Specific canine pancreatic lipase ) เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีความไว (sensitivity) และ มีความจำเพาะ (specific)ต่อโรคสูง นอกจากนี้ยังให้ผลได้รวดเร็วด้วย
–การตรวจวัดเอนไซม์ของตับอ่อนเชิงปริมาณ (canine pancreatic lipase = V-check CPL)
การรักษา
– พักการทำงานของตับอ่อนโดยการงดน้ำงดอาหารในช่วงแรกของการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ เนื่องจากการที่มีอาหารผ่านสู่ลำไส้เป็นการกระตุ้นการทำงานของตับอ่อน
– การให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ มีความสำคัญมากเนื่องจากช่วยให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงตับอ่อนดีขึ้นเป็นการป้องกันการขาดเลือดไปเลี้ยงตับอ่อน และเป็นการป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำของร่างกาย ซึ่งสารน้ำที่ใช้ควรเป็นชนิดที่มีโปแตสเซียมสูง เนื่องจากในภาวะตับอ่อนอักเสบมักเกิดภาวะขาดโปแตสเซียมร่วมด้วย
– สัตว์ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และอาจต้องตรวจเลือดหลายครั้งภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อปรับสมดุลกรดด่าง และอิเลกโตรไลท์ในร่างกาย
– การให้ยาลดปวดชนิดฉีด เนื่องจากสัตว์ป่วยจะมีการปวดมาก การให้ยาลดปวดนี้จะช่วยลดการอักเสบ และทำให้มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของสัตว์ป่วยด้วย
–ให้ยาควบคุมการอาเจียน
– การให้ยาปฏิชีวนะ มีความจำเป็นในกรณีที่ตรวจพบการติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีผลต่อการอักเสบของตับอ่อน
– เมื่อเริ่มให้อาหาร ควรให้อาหารไขมันต่ำ เช่น อาหารรักษาโรคที่มีกากใยสูง เช่น อาหารสูตร w/d ของ Hill’s science diet หรือ intestinal low fat ของ royal canin เพื่อลดการกระตุ้นการทำงานของตับอ่อน
เรียบเรียงโดย สพ.ญ. อรญา ประพันธ์พจน์
แผนกอายุรกรรม, แผนกศัลยกรรม, แผนกโรคหัวใจ