Menu Close

พิษของ Cyanide ในสัตว์เลี้ยง

พิษของ Cyanide ในสัตว์เลี้ยง

ไซยาไนด์ (cyanide) เป็นสารพิษธรรมชาติที่พบได้ทั้งใน แมลง แบคทีเรีย และพืชจำนวนมาก หากเข้าสู่ร่างกาย จะไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ โดยเฉพาะสมอง หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ขาดออกซิเจน จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอันตรายรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ทังในมนุษย์และสัตว์เลี้ยง

ลักษณะทางกายภาพของ Cyanide มี 3 รูปแบบ

1. ก๊าซ เป็นรูปแบบอิสระอยู่รูปก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ไมม่ีสีและมีกลิ่นฉุน เป็๊าซพิษ

2. ของเหลว อยู่ในรูปของไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นของเหลวใส ระเหยเป็นแก๊สได้ง่ายที่อณุหภมูิห้อง

3. ของแข็ง จะอย่ใูนรูปสารประกอบกับโลหะอัลคาไลน์,โลหะหนัก

แหล่งของสารพิษ

1. แหล่งของไซยาไนด์ในธรรมชาติได้จากสารอะมิกดาลิน (Amygdalin) ซึ่งพบได้ในเมล็ดของแอพพริคอท (Apricot) และเชอรรี่ดำ (Black cherry) และสารลินามาริน (Linamarin) ซึ่งพบได้ในหัวและใบมันสำปะหลัง

2. มลพิษจากอตุสาหกรรมพลาสติก โลหะและเคมีอินทรีย์

3. ควันรถยนต์ เตาเผาขยะและบุหรี่

ลักษณะความเป็นพิษ

   การได้รับ cyanide ผ่านทางการรับประทาน 50-200 mg ขึ้นไปมีผลเสียชีวิตทันที ส่วนการได้รับ cyanide ผ่านการสูดดมมีความเสี่ยงต่อชีวิต ตั้งแต่ 110 ppm ขึ้นไป แต่ถ้าหากถึง 270 ppm ขึ้นไปมีผลเสียชีวิตทันทีและการได้รับ cyanide ผ่านทางผิวหนัง มีผลเสียชีวิตทันทีหากได้รับมากกว่า 100 mg ต่อน้ำหนักร่างกาย ซึ่งลักษณะพิษของ cyanide ที่พบส่วนใหญ่ออกฤทธิ์แบบเฉียบพลันโดยจะเสียชีวิตภายใน 1-15 นาที ส่วนแบบเรื้อรังจะไม่ค่อยพบ ซึ่งก่อให้เกิดทางระบบประสาท

อาการความเป็นพิษ

   ระบบที่ร่างกายเกิดความเป็นพิษ ได้แก่ระบบไหลเวียนหิต ระบบหายใจ และระบบประสาท โดย Cyanide จะจับกับ ferric ทำให้ร่างกายและเลือดใช้ oxygen ไม่ได้ ซึ่งในระบบไหลเวียนโลหิต cyanide จะก่อให้เกิดอาการ tachycardia, bradycardia, hypotension, ventricular arrhythmic หรือ AV-block ส่วนระบบหายใจจะเกิดอาการ hyperpnea,dyspnea หรือ apnea และระบบประสาทจะก่อให้เกิดอาการหรือโคม่าได้

สพ.ญ.ศศิร์พัช กิตติสารธรรมา ()
แผนกอายุรกรรม, แผนกอัลตร้าซาวด์