Menu Close

สัตวแพทย์ไทยเปลี่ยนข้อสะโพกให้น้องหมาได้สำเร็จ

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกน้องหมา : ความก้าวหน้าในการรักษาสุนัขให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โรคข้อสะโพกเสื่อม เป็นโรคที่พบได้เป็นประจำกับสุนัขทุกสายพันธ์ุ ทุกเพศทุกวัย อาการของสุนัขที่เป็นโรคนี้คือ เดินได้ลำบาก เดินแบบโหย่งขา เดินลากขา ในบางตัวเดินแบบกระโดดคล้ายกระต่าย (Bunny – hopping) บางรายที่อาการหนักคือไม่เดิน เมื่อไม่เดินนานเข้าก็ลามไปเป็นกล้ามเนื้อลีบ พิการจนเดินไม่ได้ สาเหตุของโรคนี้มาจากพันธุกรรมเป็นมาแต่กำเนิด

ภาพ x-ray ก่อนผ่าตัด
ภาพ x-ray หลังผ่าตัด

การตรวจน้องหมาเพื่อหาข้อสะโพกเสื่อมเริ่มเมื่ออายุเท่าไร

โรคข้อสะโพกเสื่อม สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน  หากทราบว่าสุนัขเราเป็นแน่นๆ
ก็สามารถวางแผนวิธีการรักษาได้แต่เนิ่นๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของสุนัขจะพามาหาหมอเมื่ออาการลุกลามถึงขั้นเดินไม่ได้แล้ว การให้ยาลดปวดจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากข้อที่เสื่อม  ซึ่งจะเป็นการรักษาตามอาการ ส่วนการรักษาที่ต้นเหตุเพื่อให้หายขาดนั้นคือการผ่าตัด  การตัดหัวกระดูกและคอกระดูกซึ่งเป็นการบรรเทาความเจ็บปวดแบบทั่วไปที่ทำกันอยู่   สุนัขจะเดินได้โดยไม่เจ็บแต่ไม่สามารถเดินได้แบบปกติร้อยเปอร์เซนต์   ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก มีการพัฒนาอวัยวะเทียม เพื่อให้สร้างคุณภาพชีวิตให้สัตว์เลี้ยงเราจึงมี “ข้อสะโพกเทียม” เพื่อนำมาเปลี่ยนใส่ให้กับสุนัขที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม

บุ้งกี๋ น้องหมาตัวแรกที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้สำเร็จ

บุ้งกี๋” หมาพันธุ์ปอมเมริเนียน เพศผู้อายุ 9 ปี ของคุณปณิชา  บรรจงราชเสนา  มีอาการขาหลังด้านซ้ายสั่น  ไม่ยอมให้จับเพราะเจ็บ ตอนแรกคิดว่าไม่เป็นอะไร  เป็นมาตั้งแต่ เมษายน 2560  พอเดือนต่อมา พาน้องไปอาบน้ำ  น้องไม่ยอมให้จับขาเลย  คุณหมอเจ้าของร้านอาบน้ำเลยจับเอ๊กซ์เรย์ พบข้อสะโพกเสื่อม เลยให้ทานยาแก้ปวดพร้อมยาน้ำเลี้ยงข้อต่อเพื่อลองดูก่อนว่าจะตอบสนองกับยามั้ย  ปรากฏว่าอาการก็ยังไม่ดีขึ้น จึงไม่อยากให้น้องทานยาแก้ปวดอีกต่อไปเพราะจะมีผลต่อตับและไต   หมอเลยแนะนำให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เกษตรหรือโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน แต่ รพ.สัตว์เกษตรเราไม่สะดวก เลยมาที่โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน   ได้พบกับหมอตั๋ง (น.สพ.บูรพงษ์  สุธีรัตน์ สัตว์แพทย์ประจำศูนย์ข้อและกระดูก)  พบว่าข้อสะโพกเสื่อมจริง 

หมอเลยแนะนำวิธีการรักษา 2 แบบ  คือ 1. ตัดหัวกระดูก  เป็นวิธีเดิม  2. เปลี่ยนข้อสะโพก ซึ่งเป็นวิธีใหม่  ซึ่งคุณหมอได้แจกแจงอย่างละเอียดทั้งข้อดีข้อเสียของทั้ง 2 วิธี   แล้วให้เราตัดสินใจเอง