Menu Close

” การตรวจสุขภาพก่อนการผ่าตัด” สำคัญกับสัตว์เลี้ยงของท่านอย่างไร

การตรวจสุขภาพก่อนผ่าตัด

สำคัญกับสัตว์เลี้ยงของท่านอย่างไร ??

โดยการตรวจสุขภาพนั้นจะแบ่งออกเป็นการตรวจร่างกายทั่วไป
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ    

การตรวจร่างกายทั่วไปได้แก่ การดูสีเยื่อเมือก , การคลำตรวจร่างกาย , การฟังเสียงปอด ,    
การฟังเสียงและจังหวะการเต้นของหัวใจ , การคลำชีพจร     
การตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ การตรวจความสมบูรณ์ของโลหิต 
( วัดระดับเม็ดเลือดแดง/เม็ดเลือดขาว/เกล็ดเลือด ) ,การตรวจค่าเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ-ไต , การตรวจค่าอิเล็กโตรไลท์ในเลือด ( โดยเฉพาะในรายผ่าตัดฉุกเฉิน เช่น  กระเพาะอาหารบิดตัว การผ่าตัดในรายโรคปอด ) การฉายภาพรังสี การทำอัลตร้าซาวด์ ทั่วไป และอัลตร้าซาวด์หัวใจ  
การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจปัสสาวะ เป็นต้น     

 

ก่อนการผ่าตัดควรทำการงดอาหาร
และน้ำอย่างน้อย  8 – 12  ชั่วโมง

 เนื่องจากในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะสลบนั้นกล้ามเนื้อหูรูดต่างๆจะผ่อนคลาย อาจมีผลให้สัตว์เลี้ยงสำลักอาหารหรือน้ำจากกระเพาะอาหารเข้าสู่หลอดลมเกิดการสำลักและเป็นอันตรายชีวิตได้

แต่การจำกัดน้ำนั้นมีข้อยกเว้นใน 
คือไม่ควรงดน้ำนานเกินกว่า   3  ชั่วโมง
เนื่องจากลูกสัตว์ยังมีกลไกการปรับสมดุลย์น้ำในร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ การงดน้ำนานเกินไปโดยไม่ได้ให้สารน้ำทดแทนอาจส่งผลให้ลูกสัตว์เกิดภาวะขาดน้ำได้ 

ทำความสะอาดพื้นที่ผิวก่อนการผ่าตัดเท่าที่ทำได้

กรณีเป็นการผ่าตัดที่ไม่รีบร้อนหรือมีเวลาให้สามารถเตรียมตัวสัตว์ได้และสัตว์มีสุขภาพดี     
เช่น ผ่าตัดทำหมัน ผ่าตัดเนื้องอกที่ผิวหนัง เจ้าของอาจอาบน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงล่วงหน้า  1  วัน  
เพื่อให้สัตว์เลี้ยงสะอาดที่สุดในการผ่าตัด แต่ถ้าหากสัตว์เลี้ยงมีสุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวย  
เช่น สุนัขเป็นมดลูกอักเสบเป็นหนอง แมวถูกรถชนกระดูกขาหัก     ก็ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำก็ได้ค่ะ    อาจทำความสะอาดเช็ดล้างคราบต่างๆ  คร่าวๆ ก็เพียงพอแล้ว      เพราะทางสัตวแพทย์จะทำการโกนขนและฟอกล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบนผิวหนังสัตว์เลี้ยงก่อนการผ่าตัดอยู่แล้ว     การเตรียมพื้นผิวก่อนการผ่าตัดให้สะอาดนั้นก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผิวหนังเข้าสู่แผลผ่าตัด

เนื่องจากการผ่าตัดบางประเภทนั้นมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่ค่อนข้างสูง
เช่น การผ่าตัดในช่องอก การผ่าตัดแก้ไขกระดูกหักบางชนิด การผ่าตัดทางระบบประสาท    
การผ่าตัดเพื่อตัดต่อลำไส้ การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งสัตว์เลี้ยงจำเป็นที่จะต้องพักรักษาต่อ
ที่โรงพยาบาลสัตว์ตามที่สัตวแพทย์แนะนำ ดังนั้นก่อนการตัดสินใจผ่าตัดเจ้าของมีสิทธิที่จะให้สัตวแพทย์ประเมินค่าใช้จ่ายคร่าวๆ เพื่อเราจะได้เตรียมค่าใช้จ่ายได้พอดีกับการรักษา

เตรียมใจยอมรับความเสี่ยงของการวางยาสลบ

ภาวะสลบนั้นที่จริงแล้วก็คล้ายกับภาวะขณะที่สัตว์หลับลึกนั่นเอง
เนื่องจากในภาวะสลบร่างกายจะมีอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจร   
รวมถึงการหายใจก็จะช้ากว่าภาวะปกติซึ่งเป็นผลจากฤทธิ์ของยาสลบ 
เพียงแต่ว่า
ปัญหาที่ทำให้สัตว์เข้ารับการผ่าตัดนั้นจะเป็นสิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการวางยา    
ยกตัวอย่างเช่น
สุนัขที่มาทำหมัน ย่อมมีความเสี่ยงในการวางยาสลบน้อยกว่า
สุนัขที่มาผ่าคลอดและสุนัขที่มาผ่าตัดช่องอกทะลุตามลำดับ
นอกจากนี้
อายุของสุนัขก็มีผลต่อการวางยาสลบเช่นกัน     

ตัวอย่างเช่น 
สุนัขโตเต็มวัยย่อมมีความเสี่ยงในการวางยาสลบน้อยกว่าสุนัขที่มีอายุน้อยและสุนัขแก่ตามลำดับ     เป็นต้น

TIP

สอบถามสัตวแพทย์ถึงการดูแลหลังการผ่าตัดรวมถึงปัญหาแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด     
เนื่องจากการผ่าตัดอาจยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางยาและการดูแลจากเจ้าของอย่างใกล้ชิด อย่าลืมว่าความสำเร็จของการรักษามาจากหมอครึ่งหนึ่งและจากเจ้าของอีกครึ่งหนึ่ง

การตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนการผ่าตัดจะช่วยให้สัตวแพทย์ประเมินความเสี่ยงในการวางยาสลบ    เลือกชนิดยาสลบ เตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการผ่าตัด ตลอดจนคาดการณ์และเตรียมรับมือกับปัญหาความเสี่ยงซึ่งอาจเกิดขึ้นในขณะสัตว์ได้รับการวางยาสลบได้

การดูแลสัตว์เลี้ยงหลังผ่าตัด

ส่วนใหญ่เมื่อหมาหลังผ่าตัดเริ่มฟื้นก็ดีใจกันว่ารอดแล้ว สบายใจได้ หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการเริ่มของภาระกิจหนักหนาอีกกว่า 7 วัน ท่านเจ้าของต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมการพยาบาลดูแลน้องหมาด้วย

  • ป้องกันหมาแทะ แกะ เลียแผลผ่าตัด อันนี้สำคัญที่สุด เพราะบางตัวแทะจนแผลแตก ดังนั้นต้องดูแลป้องกันอาจจะใช้ปลอกคอกันแทะ หรือสวมเสื้อรัดแผล 
  • อย่าให้แผลเปียกน้ำ สกปรก หมักหมมด้วยฉี่ และอึ
  • ระวังหมาตัวอื่นจะมาช่วยแทะ แกะ เลีย ควรแยกหมาป่วยไปพยาบาลในที่อื่นจนกว่า แผลจะหายดีแล้วจึงนำกลับมาเข้าพวก รวมฝูง
  • งดการกระโดดโลดเต้น ควรให้พักกิจกรรมไว้จนกว่าแผลผ่าตัดหายดี เป็นการป้อง กันแผลแตก หรือไม่ติด
  • ป้อนยากิน ทายาที่แผล และปฏิบัติตามคำสั่งของหมออย่างเคร่งครัด ตลอดจนเมื่อถึงวันนัดหมายไปตรวจหรือตัดไหม 
เรียบเรียงโดย สพ.ญ. อรญา ประพันธ์พจน์
แผนกอายุรกรรม, แผนกศัลยกรรม, แผนกโรคหัวใจ