Menu Close

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในสุนัข

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในสุนัข

   ต่อมน้ำเหลืองเป็นต่อมที่มีอยู่ทั่วร่างกายของสุนัข ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถเป็นไปได้ในทุกๆ ที่ทั่วร่างกาย เคยหรือไม่ที่คุณลูบคลำตัวของเจ้าตูบแล้วพบเจอสิ่งผิดปกติอย่างสุนัขมีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ หรือใต้รักแร้ หรือช่วงไหนที่เจ้าสี่ขามีอาการเบื่ออาหาร อาเจียนท้องเสีย น้ำหนักลด หรือหายใจลำบาก หากมีอาการเหล่านี้สุนัขของคุณอาจมีอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร

   โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) คือการเกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของระบบน้ำเหลือง       และความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว โรคนี้มักเกิดขึ้นในสุนัขที่มีอายุวัยกลางไปจนถึงวัยที่มีอายุมากประมาณ   6 – 9 ปี

สายพันธุ์สุนัขที่มีโอกาสจะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้บ่อย

  1. บ็อกเซอร์
  2. โกลเด้นท์รีทรีฟเวอร์
  3. เซนต์เบอร์นาร์ด
  4. บาสเซ็ตฮาวด์
  5. แอร์รีเดลเทอร์เรีย
  6. สก็อตติชเทอร์เรีย
  7. บูลด็อก
พันธุ์สุนัข

สัญญาณและอาการของโรค

   อาการที่บ่งบอกถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเบื้องต้น จะมีอาการอาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร อ่อนแรง เซื่องซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ตาบอด ชัก มะเร็งต่อมน้ำเหลืองหลายจุดแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของต่อมน้ำเหลืองส่วนปลายโดยไม่เจ็บปวด จะเห็นได้ในบริเวณต่างๆ เช่นใต้ขากรรไกรรักแร้ขาหนีบและหลังหัวเข่า การขยายตัวของตับและม้ามทำให้ช่องท้องขยาย นอกจากนี้ยังมีอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในจุดอื่นๆ ที่มักจะแสดงออกมาเบื้องต้น ดังนี้

-มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเส้นเลือดอาจทำให้เกิดของเหลวสะสมรอบ ๆ บริเวณปอดทำให้เกิดอาการไอและหายใจลำบาก

-มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดการอาเจียนท้องเสียและถ่ายเป็นสีดำ (ถ่ายเป็นเลือดในอุจจาระ) ระดับอัลบูมินในเลือดต่ำและภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป

สัญญาณของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละตำแหน่งของร่างกาย ตัวอย่างเช่น กรณีมีอาการของระบบประสาทร่วมด้วยอาจทำให้เกิดอาการชักหรือเป็นอัมพาต หากมีอาการแสดงเริ่มต้นของโรคในระบบตา อาจทำให้เกิดต้อหิน , เลือดออกภายในตา, จอประสาทตาลอกและตาบอดได้ หรือหากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในไขกระดูกทำให้เกิดโรคโลหิตจาง เกล็ดเลือดและจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ

ระยะของโรค

   การแบ่งระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะเริ่มต้นที่การตรวจต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด การตรวจค่าการทำงานของตับและไต การตรวจปัสสาวะ การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ช่องอกและช่องท้อง การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ ร่วมกับการตรวจไขกระดูก ซึ่งอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน จึงจะช่วยบอกสภาพร่างกายของสัตว์เลื้ยงและจะง่ายต่อการประเมินระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษาได้ตรงจุด

ระยะของโรค สามารถแบ่งเป็น 5 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 พบต่อมน้ำเหลืองเพียงต่อมเดียวในอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

ระยะที่ 2 พบการขยายขนาดของต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม แต่จำกัดบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

ระยะที่ 3 พบการขยายขนาดของต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย

ระยะที่ 4 มีการลุกลามของมะเร็งไปยังม้ามและตับ

ระยะที่ 5 มีการกระจายของโรคตามที่กล่าวมาร่วมกับตรวจพบในไขกระดูก

การวินิจฉัยและรักษา

   การักษาที่นิยมในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ “การให้เคมีบำบัด” ซึ่งยาต้านมะเร็งมีทั้งในรูปแบบการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือรูปแบบยากิน  ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด 

   สุนัขที่ได้รับเคมีบำบัดมักมีผลข้างเคียงอย่างเช่น อาการอาเจียน ท้องเสีย ร่วมกับการติดเชื้อแทรกซ้อน จึงทำให้สัตวแพทย์ต้องคำนึงถึงการให้การรักษาซึ่งบางครั้งจะใช้รูปแบบการรักษาเพื่อการพยุงอาการ โดยเริ่มจากการให้ยาต้านมะเร็งในระดับต่ำ เพื่อลดผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลต่อชีวิตของสัตว์ป่วยด้วย