Menu Close

กลุ่มอาการขากางในลูกสุนัข

กลุ่มอาการขากวงในลูกสุนัข-Swimming-Puppy-Syndrome

   ใครเคยสังเกตเห็นอาการผิดปกติของเจ้าลูกสุนัขตัวน้อย ที่พึ่งคลอดออกมาได้ไม่กี่สัปดาห์แต่ก็ยังไม่สามารถลุกยืนหรือเดินได้แบบที่ควรจะเป็นบ้างไหมคะ หากสังเกตดูแล้วพบว่าเจ้าขนปุยสี่ขามีอาการขาแบะ กางออก หรือเดินคล้ายเต่า นั้นอาจเป็นอาการของกลุ่มอาการขากางในลูกสุนัขนั้นเอง

   กลุ่มอาการขากางในลูกสุนัข (Swimming Puppy Syndrome) เป็นโรคที่พบในสุนัขในช่วงแรกเกิด โดยขาจะกางออกด้านข้าง สามารถเกิดได้ทั้งขาหน้าและหลัง หรือสามารถเป็นได้ทั้ง 4 ขา อาการที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนคือมีการเคลื่อนไหวคล้าย “นักว่ายน้ำ” เหตุผลที่เรียกเช่นนี้ เนื่องมาจากการที่ลูกสุนัขลุกขึ้นยืน และเดินตามวัยปกติได้ลำบาก (โดยทั่วไปตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด) และมีการเคลื่อนไหวคล้ายการพายเรือไปด้านข้างขณะที่พยายามจะเดินไปรอบๆ เรียกอีกอย่างว่ากลุ่มอาการลูกสุนัขแบน (Flat-puppy syndrome) เพราะลูกสุนัขใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในท่าคว่ำและมักมีหน้าอกแบน นอกจากนี้อาจพบภาวะการยุบตัวของช่องอกร่วมด้วยได้

าเหตุของความผิดปกติ

   สำหรับสาเหตุของกลุ่มอาการแบบนี้ยังไม่เป็นทีแน่ชัด อาจมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่อาจทำให้เกิดลักษณะเช่นนี้ เช่น ปัจจัยด้านกระดูก โภชนาการ ระบบประสาท พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม และหากเพิกเฉยอาจส่งผลให้สุนัขพิการหรือมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

วิธีการรักษายังไม่ได้รับการกำหนดไว้อย่างแน่ชัด แต่การรักษา เช่น กายภาพบำบัด การใช้ผ้าพันแผล และการนวด ได้รับการเสนอแนะว่าทำแล้วได้ผลดีขึ้นในรายงานการรักษา ตามรายงานเหล่านี้ การพยากรณ์โรคจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรง

ารวินิจฉัยและการดูแล

   ในเบื้องต้นหากสังเกตพบอาการที่เข้าข่ายลักษณะจะเป็นโรคในกลุ่มอาการขากางในลูกสุนัขแล้ว แนะนำให้เจ้าของรีบมาสุนัขมาพบสัตวแพทย์เพื่อทำการหาทางรักษาให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้นาน โครงสร้างของกระดูกจะเจริญผิดปกติและอาจทำให้สุนัขไม่สามารถยืนและเดินได้อีกต่อไป แนะนำให้พามาโรงพยาบาลสัตว์เพื่อทำการ X-ray เพื่อตรวจดูลักกษณะกระดูกเบื้องต้น

   แนวทางการรักษาโดยส่วนใหญ่สัตวแพทย์จะทำการรักษาโดยการปรับโครงสร้างและทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ดังนี้

 

1. การพันขา คือการจัดแนวขาและทำการดามให้ขากลับมาอยู่ในตำแหน่งปกติ และอาจมีการดามอกร่วมด้วยเพื่อป้องกันการยุบตัวของช่องอกร่วมด้วย

2. การออกกำลังขาด้วยการยืดหด เป็นวิธีการทำกยภาพบำบัดด้วยการบริหารข้อต่อไม่ให้ยืดติดกัน เพราะในกรณีที่สุนัขไม่ได้ใช้ขาตามปกตินานๆ อาจทำให้ข้อต่อติดได้

3. การฝึกยืนโดยใช้อุปกรณ์ โดยใช้ผ้าช่วยยกตัวให้สุนัขได้ฝึกยืน จัดท่าทางให้อยู่ในลักษณะยืน เท้าสัมผัสพื้น

4. การทำธาราบำบัด หรือการทำกายภาพโดยใช้น้ำ เช่น การว่ายน้ำเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการเดินบนสายพานใต้น้ำเพื่อฝึกก้าว

   นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของลูกสุนัข อย่างเช่น พื้นที่ลื่นเกินไป อาจส่งผลเสียให้ลูกสุนัขลื่น และไม่สามารถยืนทรงตัวได้ ควรเปลี่ยนพื้นหรือหาพรมกันลื่นมาปูในบริเวณนั้น รวมไปถึงการดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เนื่องด้วยสรีระส่วนใหญ่ของลูกสุนัขที่เป็นโรคในกลุ่มอาการเช่นนี้จะมีลักษณะของอกที่แบน แนบชิดพื้น เพื่อลดโอกาสการนอนทับสิ่งขับถ่ายและการเกิดโรคผิวหนังในอนาคต