ภาวะไตเรื้อรังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยทั้งในสุนัขและแมวโดยเฉพาะในสัตว์ที่อายุมาก ซึ่งการดูแลจัดการที่สำคัญในภาวะนี้คือ การจัดการด้านอาหารที่เหมาะสม เช่น การจำกัดโปรตีนและเกลือแร่บางชนิด การเสริมวิตามินและกรดไขมันที่จำเป็น
ก่อนที่สัตวแพทย์จะมีการดูแลจัดการด้านอาหารกับสัตว์ควรมีการตรวจร่างกายก่อนเพื่อดูว่ามีเกณฑ์ที่อ้วนหรือผอมเกิดไปหรือไม่ มีปริมาณกล้ามเนื้อมากน้อยแค่ไหน ประเมินระยะของโรคไตว่าอยู่ในระยะที่รุนแรงแค่ไหน เช่น การตรวจเลือด การอัลตร้าซาวน์ดูลักษณะของไต
เมื่อตรวจร่างกายสัตว์แล้วก็สามารถจัดการด้านอาหารได้ การควบคุมปริมาณแร่ธาตุบางชนิดที่มีผลกับไต เช่น ฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม และควรให้มีอาหารที่มีปริมาณโปรตีนที่พอเหมาะไม่มากและน้อยจนเกินไป
เพราะถ้าน้อยเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพของร่างกายของสัตว์แย่ลงและซูบผอม หรือสามารถเสริมวิตามินบางชนิดได้ เช่น วิตามินบี กรดไขมันที่จำเป็น เช่น EPA DHA
แต่ในปัจจุบันนี้มีการสร้างอาหารสูตรจำเพาะที่เหมาะสมกับโรคไตเพื่อความสะดวกในการเลือกใช้ของเจ้าของสัตว์ หรือถ้าเจ้าของต้องการปรุงอาหารให้สัตว์เองก็สามารถทำได้แต่ต้องอยู่ในการดูแลของสัตวแพทย์
ปริมาณอาหารที่เหมาะสมนั้นอ้างอิงได้ทั้งจากน้ำหนักของสัตว์และ body condition score หรือสัดส่วนร่างกายของตัวสัตว์เอง และควรมีการประเมินน้ำหนักอาทิตย์ละ 1-2 ครั้งเพื่อความเหมาะสม
โดยน้ำหนักของสัตว์ควรมีการปลี่ยนแปลงไม่ควรเกิน 0.5% ของน้ำหนักตัวทั้งหมดต่อสัปดาห์ เพราะถ้าน้ำหนักของสัตว์เพิ่มขึ้นหรือลดลงเร็วจนเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายสัตว์ได้ โดยแบ่งอาหารเป็นหลายๆมื้อ ปริมาณต่อมื้อไม่เยอะ เพื่อลดความหิวระหว่างวันของสัตว์
นอกจากการดูแลเรื่องการกินของสัตว์ที่เป็นโรคไตแล้วควรมีการตรวจร่างกาง ตรวจเลือด ประเมินสภาพสัตว์ที่โรงพยาบาลสัตว์โดยสัตวแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อแนะนำการปรับแผนการจัดการของตัวสัตว์ได้ต่อไป
เรื่อง “What’s new in dietary therapy for renal disease”
World small animal veterinary association (WSAVA 2019)เรียบเรียงโดย น.สพ. ฐิติกร เอกสิริไตรรัตน์
แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู, แผนกอายุรกรรม