โรคหัวใจที่พบในสุนัขและแมว เกิดความผิดปกติของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจ โรคจะมีการพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลา แต่ผลในที่สุดก่อให้เกิดภาวะที่มีความรุนแรงต่อการทำงานของหัวใจที่เรียกว่า หัวใจล้มเหลว (heart failure) สามารถได้พบตั้งแต่เกิด (congenital heart disease)ในช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี และ โรคหัวใจของสุนัขและแมวที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired heart disease) โดยโรคมีการพัฒนาขึ้นในอายุช่วงอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด และมักพบว่าเป็นสุนัขที่มีอายุมาก
โรคหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
1. โรคลิ้นหัวใจเรื้อรัง มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ซึ่งเป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก
2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ อาการผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการหนาตัว หรือผนังห้องหัวใจบาง และอ่อนแอ มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจลดลง พบได้บ่อยในแมว และสุนัขพันธุ์ใหญ่
แนวทางการรักษา
1. ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังเสียงหัวใจและปอด
2. ตรวจเลือดทั่วไป ตรวจค่าการทำงานของตับ ไต ตรวจโรคพยาธิหนอนหัวใจ
3. เอ็กซ์เรย์ช่องอก เพื่อประเมินขนาดหัวใจ และปอดว่ามีความปกติหรือไม่
4. ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
5. อัลตร้าซาวน์หัวใจ (Echocardiography) เพื่อดูโครงสร้างของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และการบีบตัวของหัวใจ